ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี
การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลตำบลเกวียนหัก ได้นำแนวคิดจากยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับต่าง ๆ มาเป็นข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
(1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ มี 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของ
ประเทศ
3. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคง
ของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
5. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
(2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)
มี 2 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งเป็นปัจจัยพื้นฐาน
2. ยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน
(3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดจันทบุรี มี 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรคุณภาพ
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว
4. ยุทธศาสตร์การขยายการค้าและการท่องเที่ยวสู่ภูมิภาคอินโดจีน
5. ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
7. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
(4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี มี 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมให้เข้มแข็ง
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงและยั่งยืน
3. ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้มีคุณภาพ
4. ยุทธศาสตร์การปกครองและการบริหารจัดการ
( 5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาในช่วงสามปีของเทศบาลตำบลเกวียนหัก ตามแผนพัฒนาสามปี
มี 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็ง
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจพอเพียงและยั่งยืน
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการปกครอง และการบริหารจัดการที่ดี
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้รับการบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ส่งเสริมการศึกษา สนับสนุนการกีฬา การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ประชาชนมีแหล่งน้ำสาธารณะ และแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ เพื่อการอุปโภค - บริโภค และการเกษตร
3. สร้างอาชีพและส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน ส่งเสริมการลดปริมาณการใช้พลังงาน และสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในตำบล เพื่อให้ประชาชน มีรายได้
4. ส่งเสริมให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และส่งเสริมความสงบเรียบร้อยของชุมชน
5. ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ พัฒนาระบบไฟฟ้า ประปา
6. ส่งเสริมการปลูกป่าชายเลน รักษาระบบนิเวศ และการอนรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ และการร่วมกันรักษาความสะอาดของชุมชน รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อให้เกิดสภาพ แวดล้อมที่ดี
|